วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทบาทของ iBooks ที่มีต่อชุมชนและสังคม

บทบาทของ iBooks ที่มีต่อชุมชนและสังคม

        สวัสดีครับ ในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังมีผลกระทบกับชุมชนและสังคมรอบๆตัวเรา โดยวันนี้ผมจะขอยกตัวอย่างแอปพลิเคชั่น iBooks ที่เป็นแอปพลิเคชั่นในการช่วยอำนวยความสะดวกในการอ่านหนังสือครับ

        นับตั้งแต่ Gadget  เริ่มมีบทบาทมากขึ้นต่อผู้คน ก็ได้มีแอปพลิเคชั่นออกมาส่งเสริมเพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ให้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่ายนั้นได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น แอปพลิเคชั่น iBooks ที่อยู่ในอุปกรณ์ของ Apple ก็เป็นแอปพลิเคชั่นหนึ่งที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกในอ่านการสิ่งพิมพ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ รับข่าวสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถเปิดอ่านได้ทุกที่ สะดวก และรวดเร็วกว่าการเปิดอ่านหนังสือจริงๆ

        การเปิดตัว iBooks นี้ทำให้วงการสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้ผลิตหนังสือ ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตหนังสือ ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้ปรับตัวให้นักเรียน นักศึกษาหันมาใช้การอ่านหนังสือผ่าน แอปพลิเคชั่น iBooks มากขึ้น ทั้งการอ่านหนังสือ การเรียนในห้องเรียน การหาความรู้ โดยที่นักเรียนนักศึกษา สามารถหาความรู้หรือหนังสือที่ต้องการได้ผ่านอุปกรณ์ของตัวเอง ไม่ต้องลำบากในการหาหนังให้ห้องสมุด ทำให้สามารถเข้าถึงสื่อและความรู้ได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น
        

        แต่การมาของ iBooks ก็มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเนื้อหาข้อมูล เนื่องจากยังมีหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์        จำนวนมากยังไม่ถูกปรับเข้าอยู่ในรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และมีหนังสือที่ยังไม่ตรงกับความต้องการกับผู้อ่าน การปรับหนังสือจากเป็นเล่มเป็นหนังสือดิจิตอลยังน้อยและอยู่ในวงจำกัด แต่จำนวนผู้ใช้งานแอปพลิเคชั่น iBooks ยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่าการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็ยังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ


        โดยส่วนตัวผมยังคิดว่าการเปิดตัว iBooks เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เป็นการช่วยให้การรับข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกและง่ายมากขึ้น แต่ความหวังที่จะมาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังคงเป็นไปได้ยากในตอนนี้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ยังคงชินและคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือผ่านกระดาษมากกว่าการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ถ้าหากมีหนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากพอกับความต้องการของผู้อ่าน ก็อาจทำให้ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ได้รับผลกระทบมากขึ้น หากยังไม่มีการปรับตัวเข้ากับยุคของโลกดิจิตอล



วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

The Matrix

The Matrix 

               สวัสดีครับทุกๆท่าน ในนี้ผมจะมาแนะนำสื่อสิ่งพิมพ์ที่น่าสนใจ โดยวันนี้ผมจะยกตัวอย่างภาพยนตร์ ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์ มาวิเคราะห์และนำเสนอให้ผู้อ่านทุกๆท่านได้รับทราบกันครับ


               ถ้าเห็นภาพนี้แล้วเพื่อนๆนึกถึงอะไรกันบ้างครับ สีเขียว? ตัวเลข? คณิตศาสตร์? คอมพิวเตอร์? เดอะ เมทริกซ์ ใช่แล้วครับ เดอะ เมทริกซ์ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ออกฉายในอเมริกาเหนือวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกเลยนะครับ ด้วยความที่เป็นหนังไซไฟที่ขึ้นชื่อว่าทันสมัยที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่าได้ เชื่อว่าผู้อ่านทุกๆท่านคงจะเคยได้ยินได้รับชมกันมาบ้างแล้วนะครับโดยในหนังจะเป็นการต่อสู้ของคนและหุ่นยนต์ในโลกของคอมพิวเตอร์หรือที่ในภาพยนตร์เรียกว่า เมทริกซ์  นั่นเอง

วิเคราะห์โปสเตอร์




               โปสเตอร์ของเรื่องนี้ จะมีลักษณะไปที่คล้ายคลึงกันกัน โดยมีลักษณะโทนสีที่เด่นชัด คือ สีเขียว และสีดำ โดยแต่ละสีจะมีความหมายบงบอกถึงลักษณะของหนังไซไฟและโลกของอนาคต  ด้วยสีดำ ที่หมายถึงความชั่วร้าย และสีเขียวที่หมายถึงธรรมชาติ โดยสามารถสื่อได้ตรงกับภาพยนตร์เป็นอย่างดี ซึ่งในเรื่องมษุนย์ก็ต้องต่อสู้กับธรรมชาติ ของสิ่งที่มนุษย์นั่นสร้างขึ้นมาเอง 



               ภาพของโปสเตอร์ยังมีภาพตัวเอกของเรื่อง ที่ใส่แว่นดำ ดูลึกลับและปกปิดตัวเอง และยังมีตัวเลข ตัวหนังสือสีเขียว วิ่งขึ้นลงที่มีลักษณะสร้างกับฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ก็ยิ่งบอกได้ชัดเจนเลยว่าเป็นการต่อสู้กันในโลกของคอมพิวเตอร์แน่นอนครับ


               เป็นยังไงบ้างครับ แม้เพียงภาพโปสเตอร์ภาพยนตร์สามารถเล่าและบอกถึงเนื้อหาของเรื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งการที่จะต้องการสื่อสารกับผู้อ่านหรือผู้ชมด้วยรูปภาพนี้ ต้องมีวิธีการคิด และการวิเคราะห์ภาพ ความหมายได้เป็นอย่างดีเลยนะครับ ซึ่งก็เป็นตัวอย่างให้ผู้อ่านทุกๆท่าน ได้นำไปใช้ในการนำเสนอ หรือต้องการสื่อกับผู้อ่านผู้ชมด้วยรูปภาพกันต่อไปนะครับ
               
               บทความนี้คงจะพอให้ผู้อ่านทุกๆท่านหันมามองความหมายของสื่อรูปภาพต่างๆ ว่าผู้ผลิตต้องการสื่ออะไรในรูปภาพ และหาความหมายที่ผู้ผลิตต้องการจะสื่อถึงเนื้อหาภายในได้นะครับ 


แล้วพบกันใหม่นะครับ สวัสดีครับ

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ย่อโลกไว้ในหนังสือ National Geographic

ย่อโลกไว้ใน National Geographic



สวัสดีครับทุกๆท่าน บทความนี้ผมจะมีหนังสือเกี่ยวกับสารคดีแนะนำกันนะครับ เป็นหนังสือที่ผมชอบอ่านเวลาว่างๆ เพราะสามารถให้ให้ความรู้มากมายกับผม เชื่อว่าทุกๆท่านคงจะรู้จักรายการสารคดีที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น ธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์ ที่น่าสนใจ โดยที่จะมาพูดถึงวันนี้คือ National Geographic ครับ



จากรายการ National Geographic ได้รับความนิยมมากขึ้น ก็ได้ทำเป็นหนังสือออกมา โดยยังใช้ชื่อเดิมว่า National Geographic  เป็นหนังสือรายเดือน แต่ละเดือนก็จะเน้นเป็นเรื่องราว ความรู้ที่น่าสนใจ เป็นเรื่องๆไป บรรยายผ่านตัวหนังสือ พร้อมทั้งรูปภาพประกอบที่ขึ้นชื่อว่า เป็นภาพถ่ายสวยงาม เป็นมุมที่แปลกใหม่ สีสันสวยงามน่าประทับใจ



ตัวอย่างภาพถ่ายในหนังสือ


รายละเอียดภายในหนังสือจะมีการลงลึกของรายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องและหัวข้อประจำเดือนเล่มนั้นๆ ผมยกตัวอย่าง หนังสือ National Geographic ประจำเดือนกันยายน 2555 "ธรรมชาติวิปริตทั่วโลก" เป็นตอนที่พูดถึงการเกิดภัยภิบัติทางธรรมชาติต่างๆในทั่วโลกว่ามีการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ทั่วโลกกี่ครั้งแล้ว แต่ละครั้ิงเกิดขึ้นได้อย่างไร มีการวิเคราะห์สาเหตุ การบอกสถิติการเกิด เป็นต้นและมีการลงรายละเอียดต่างๆที่ลงลึกเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่น่ารู้มากมาย ทำให้รู้เรื่องต่างๆที่ได้อ่านมากขึ้นกว่าเดิมมากครับ เมื่อเรามีความรู้มากมายในเรื่องที่น่าสนใจมารวบรวมในหนังสือเล่มเดียวแบบนี้ ทำไมเราถึงจะไม่ลองหยิบมาอ่านดูละครับ


ตัวอย่างภาพถ่ายในหนังสือ


จากที่ได้ติดตามอ่านมาหลายๆฉบับ หนังสือ National Geographic มา ผมได้ความรู้จากเรื่องต่างๆที่ผมสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรือไททานิคเมื่อฉบับเดือนเมษายน 2555 เรื่องพายุสุริยะ ฉบับเดือน กรกฏาคม 2555 เรื่องประชากรบนโลก ฉบับเดือนมกราคม 2554 เป็นต้น ที่ผมยกตัวอย่างมานี้ พอจะชวนให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสารคดีต่างๆ หันมาอ่านหนังสือ National Geographic กันนะครับ โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับหนังสือได้ที่ www.ngthai.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ National Geographic  ของประเทศไทย โดยจะมีรายละะเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจในหนังสือแต่ละฉบับให้ได้ติดตามกันนะครับ


สวัสดีครับ

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนะนำสื่อชุดการสอน ร่างกายของคอมพิวเตอร์

แนะนำสื่อชุดการสอน ร่างกายของคอมพิวเตอร์


           สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมจะมาแนะนำชุดการสอนที่ช่วยอธิบายส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ชื่อชุด "ร่างกายของฉัน คอมพิวเตอร์" โดยภายในชุดการสอนนี้จะประกอบไปด้วย 

1.ใบความรู้ ซึ่งจะมีรูปภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอธิบายส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
2.ชุดทดสอบการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจับคู่ จะมี ชื่อของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รูปภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และความหมายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษานำมาใช้ทำแบบทดสอบ และเป็นการทดสอบนักเรียนอีกด้วยครับ
3.ใบเฉลยชุดทดสอบ ซึ่งจะเฉลยการจับคู่นะครับ ซึ่งสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทดสอบได้จากใบเฉลยนี้

           ซึ่งสามารถศึกษาวิธีการใช้งานชุดการสอนนี้เพิ่มเติมได้ภายในกล่องนะครับ สามารถยืมชุดการสอนชั้นนี้และสื่อการสอนอื่นๆได้ที่ ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ชั้น 8 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒครับผม 



ขอขอบคุณ ชุดการสอน "ร่างกายของฉัน คอมพิวเตอร์" จาก ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ชั้น 8 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อและเทคโนโลยีการศีกษาในศตวรรษที่ 21

สื่อและเทคโนโลยีการทางศีกษาในศตวรรษที่ 21

Video on Demand

ปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  การพัฒนาสังคมและประชากรให้มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการให้การศึกษากับประชาชนในประเทศนั้นๆ จึงทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการที่จะช่วยในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้เกิดคุณภาพและประโชยน์สูงสุด โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาเป็นตัวช่วยในการพัฒนา จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้นมาในโลกนี้

ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งโดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษา ได้มีการตื่นตัวกันมากในการนำเอาระบบ Video on Demand มาใช้บริการเพื่อสนองต่อปรัชญาการศึกษาแนวใหม่ที่เน้นในผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนแทนระบบเดิมที่ให้ผู้สอนเป็นศูนย์กลางการเรียน การจะให้แนวการศึกษาใหม่นี้ได้รับความสำเร็จจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนเครื่องมือสำหรับศึกษาค้นคว้าเช่นห้องสมุด ระบบอินเตอร์เน็ต และหนึ่งในเครื่องมือที่จะละเลยไม่ได้ก็คือระบบ Video on Demand นั่นเอง 

หลายๆคนอื่นจะยังไม่เข้าใจนะครับว่าระบบ Video on Demand คืออะไร Video on Demand  คือระบบวิดิโอดิจิตอลที่ผู้ใช้สามารถเปิดวีดิทัศน์ที่มีอยู่ในรายการได้ทันที โดยไม่คำนึงว่ากำลังให้บริการรายการใดให้กับใครอยู่ในขณะนั้น พร้อมทั้งความสามารถในการควบคุมการเล่นได้ด้วยตนเอง โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 


ส่วนประกอบของระบบ Video on Demand ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก 3 ส่วนดังต่อไปนี้


1. เครื่องแม่ข่ายวีดิทัศน์ (Video Server)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ขนาดใหญ่พร้อมโปรแกรมบริหารสายธาร (Streaming Managemet) เพื่อรับประกันการส่งภาพอย่างต่อเนื่องให้กับเครื่องลูกข่าย (Client) หากปราศจากโปรแกรมบริหารสายธาร คอมพิวเตอร์แม่ข่ายนี้ก็เป็นเพียงเครื่องแม่ข่ายเก็บข้อมูล (Database Server) ธรรมดา

2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
เป็นเส้นทางที่เครื่องแม่ข่ายจะส่งสายธารวีดิทัศน์ให้กับผู้ร้องขอ ประกอบด้วยแผ่นวงจรเครือข่าย (Network Interface Card) ติดตั้งไว้ในเครื่องแม่ข่ายและลูกข่าย สายเชื่อมต่อสัญญาณ (Network Cable) และอุปกรณ์สลับเส้นทาง (Network Switch) ระบบเครือข่ายอาจจะเป็นระบบอีเทอร์เนต (Ethernet) หรือเอทีเอ็ม (ATM) โดยใช้สายคู่ตีเกลียว (UTP) หรือสายใยแก้ว (Optical Fiber) ตามความเหมาะสม

3. เครื่องลูกข่าย (Client)
คือเครื่องรับสัญญาณวีดิทัศน์จากเครื่องแม่ข่าย อาจจะอยู่ในรูปของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือกล่องสำเร็จ (Set Top Box) ภายในจะมีตัวถอดรหัส (Decoder) สัญญาณดิจิตอลวีดิทัศน์ที่ส่งมาจากเครื่องแม่ข่ายให้อยู่ในรูปที่มองเห็นได้บนคอมพิวเตอร์หรือจอภาพโทรทัศน์ เครื่องลูกข่ายจะต้องมีอุปกรณ์สั่งการเพื่อให้เลือกรายการได้เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพสัมผัส หรือเครื่องควบคุมระยะไกล (Remote Control) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด







ข้อดีของระบบ Video on Demand 

1. ให้บริการได้พร้อมกันจำนวนมาก ระบบ Video on Demand จะสามารถให้บริการลูกข่ายที่ร้องขอรายการเดียวกันได้พร้อมกันหรือให้บริการรายการที่ต่างกันทั้งหมดได้อีกด้วย ความสามารถนี้เกิดจากการจัดการขององค์ประกอบของระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ไม่เสื่อมคุณภาพจากการใช้งาน  Video on Demand เป็นดิจิตอลวีดิทัศน์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสของคอมพิวเตอร์ซึ่งมีวิธีการตรวจเช็คและแก้ไขข้อผิดพลาดอย่างยอดเยี่ยม ข้อมูลวีดิทัศน์จึงถูกเก็บรักษาและนำไปใช้โดยไม่มีการเสื่อมหรือสูญหาย
3. ทำงานได้รวดเร็วการทำงานกับดิจิตอลวีดิทัศน์ในฮาร์ดดิสซึ่งมีความเร็วสูงและเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีแบบสุ่ม (Random Access) จึงสามารถเปิด ควบคุม และค้นหา ได้อย่างรวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการกรอม้วนเทปไปมา
4. จัดทำบันทึกและรายงานได้สะดวก ด้วยความสามารถของคอมพิวเตอร์ จึงไม่เป็นการยากที่จะบันทึกการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้เรียกใช้ รายการ ระยะเวลา ความถี่ พร้อมทั้งการจัดพิมพ์รายงานตามรูปแบบที่ต้องการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
5. มีความปลอดภัยสูง การโยกย้าย เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลใด ๆบนเครื่องแม่ข่ายจะทำไม่ได้หากไม่มีหน้าที่ หรืออำนาจในการจัดการ หมดปัญหาอุบัติเหตุจากการตกหล่น สูญหาย  ชำรุด หรือถูกลบทิ้งจากการใช้งาน 
6. ไม่ต้องใช้เครื่องเปิดโดยฉพาะใช้เพียงคอมพิวเตอร์ธรรมดาที่มีอยู่ไปในหน่วยงานมาเชื่อมต่อเป็นเครื่องลูกข่ายได้ทันที ประสิทธิภาพของการถอดรหัส ความราบเรียบของภาพวีดิทัศน์ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นั้น ๆ 
7. เสริมบริการอื่น ๆได้ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องลูกข่าย ทำให้เพิ่มบริการเสริมต่าง ๆได้โดยสะดวกเช่น บริการการท่องอินเตอร์เน็ต การค้นข้อมูลในห้องสมุด การลงทะเบียน การดูผลการสอบ และ การคิดค่าบริการเป็นต้น


ด้วยเหตุที่ Video on Demand มีข้อดีมากกว่าการให้บริการที่ใช้ม้วนเทปหรือแผ่นวีดิทัศน์ชนิดต่างๆ จึงมีการนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านงานบริการสื่อการศึกษา (Self Learning หรือ Instruction on Demand) เพื่อให้บริการวีดิทัศน์การเรียนการสอน การฝึกอบรม สารคดี ข่าวสารที่สำคัญ ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์สูงสุด โดยน้ำไปประยุกต์ได้ดังนี้

- งานเผยแพร่คำบรรยาย เป็นการบันทึกการบรรยายของผู้สอนในการบรรยายตามปกติไว้ในเครื่องแม่ข่ายวีดิทัศน์ เพื่อบริการให้กับผู้พลาดการบรรยายด้วยสาเหตุใดก็ตาม ผู้ต้องการทบทวนเนื้อหาหลักสูตร หรือผู้ที่ตามคำสอนไม่ทันได้มีโอกาสไปขอรับบริการจากศูนย์บริการข้อมูลหรือห้องสมุดได้
- บริการวีดิทัศน์การศึกษา เป็นวีดิทัศน์ที่ผลิตขึ้นโดยเฉพาะ วีดิทัศน์ประเภทนี้จะมีเนื้อหาที่รัดกุมกว่า ภาพประกอบ คำบรรยาย วอย่าง จะสมบูรณ์มากกว่า จึงเหมาะสำหรับการนำมาให้บริการ Video on Demand เพื่อการศึกษาค้นคว้าได้อีกชนิดหนึ่ง
- บริการข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญ การศึกษาไม่จำกัดอยู่เฉพาะในตำรา ข่าวสารและเหตุการณ์ที่สำคัญถือเป็นเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในหลายหลักสูตร การบรรจุข่าวสารที่สำคัญไว้ในเครื่องแม่ข่ายวีดิทัศน์ ก็สามารถสร้างศูนย์บริการข่าววีดิทัศน์บนเครือข่ายได้
- สารคดีประกอบบทเรียน สารคดีที่มีประโยชน์คือแหล่งความรู้อันมหาศาล ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติ ภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เกิดวิสัยทัศน์ ความตื่นตัว และพัฒนาการ จึงสมควรมีไว้บริการในระบบ Video on Demand เช่นกัน
- การฝึกภาคปฏิบัติ ห้องปฏิบัติการทางภาษา งานหัตกรรมบางประเภท งานที่ต้องใช้ความละเอียด ตัวอย่างที่เสี่ยงอันตราย เหมาะอย่างยิ่งที่จะเผยแพร่ในรูปของวีดิทัศน์ ผู้ปฏิบัติสามารถย้อนกลับไปกลับมาเท่าที่ต้องการโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดความเสียหายต่อระบบถ้าหากเป็นการเปิดจากระบบ Video on Demand


ตัวอย่าง Video on Demand เรื่องมะเร็งสำไส้ใหญ่ โดย Dr.Howard Schecter


ข้อเสียของระบบ Video on Demand 

1. หากผู้เรียนมีข้อสงสัย ระบบไม่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ทันที อาจต้องรอให้ผู้อื่นมาตอบภายหลัง


2. สำหรับผู้ที่มีช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่มีความเร็วไม่คงที่ จะพบปัญหาการ buffering บ่อยครั้ง


แต่เนื่องด้วย Video on Demand เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลาและความเร็วการเชื่อมต่อก็จะส่งผลคุณภาพ ความละเอียด ความคมชัดของวีดีโอที่ได้จะได้รับชม การรับชมจึงมีข้อจำกัดในหลายๆด้านยกตัวอย่างดังนี้

ความเร็วในการเชื่อมต่อ ซึ่งหากมีการรับชมผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ก็จำเป็นที่จะต้องใช้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้น เพื่อรองรับกับคุณภาพละความคมชัดของสื่อที่จะรับชม เนื่องจากหากการเชื่อมต่อมีปัญหาก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้และรับชมได้โดยตรง

การบริหารจัดการของระบบแม่ข่าย
ซึ่งเมื่อระบบมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ความแตต่างแต่ละระบบก็จะมีความสามารถในการรองรับผู้ใช้งานต่างกันไป บางระบบสามารถจัดส่งวิดีโอให้กับผู้ใช้อย่างไม่จำกัดจำนวน แต่จะทำงานได้อย่างราบเรียบเมื่อมีผู้ใช้ไม่มาก เมื่อผู้ใช้มากขึ้นก็จะเกิดการชะงักหรือการกระตุกของภาพ







ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งโดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษา ได้มีการตื่นตัวกันมากในการนำเอาระบบ Video on Demand มาใช้บริการเพื่อช่วยในการศึกษาและสนองต่อปรัชญาการศึกษาแนวใหม่ที่เน้นในผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนแทนระบบเดิมที่ให้ผู้สอนเป็นศูนย์กลางการเรียน การจะให้แนวการศึกษาใหม่นี้ได้รับความสำเร็จ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนเครื่องมือสำหรับศึกษาค้นคว้าเช่นห้องสมุด ระบบอินเตอร์เน็ต และหนึ่งในเครื่องมือที่จะละเลยไม่ได้ก็คือระบบ Video on Demand 
การนำไปใช้ในการช่วยในการศึกษานั่น จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากการเรียนการสอนมากที่สุด



แหล่งที่มา
http://senarak.tripod.com/video01.htm
http://portal.in.th/inno-cholticha/pages/1930/
http://en.wikipedia.org/wiki/Video_on_demand





วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา




 สวัสดีครับ บทความนี้จะพูดถึงเรืองของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาว่าแท้จริงแล้วมีความหมายอย่างไร สำหรับศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสำเนาสื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและรายการวิทยุ เพื่อการศึกษา ที่ศูนย์ฯผลิต เป็น วีซีดี  ออดิโอซีดี และ MP3 พร้อมคู่มือประกอบการรับชมและฟัง   สำหรับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน และศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ครับ



สำหรับความสำคัญของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเราจะแยกเป็นหัวข้อๆได้ดังนี้ครับ


1 . เพื่อเป็นที่ให้บริการสำเนาสื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้ที่มีเรียนในระดับอุดมศึกษา
2.  เพื่อเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับ นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่สนใจสืบค้นหาข้อมูล
3.  เพื่อเป็นแหล่งบริการการผลิตสื่อการศึกษา การบริการสืบค้นทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจภายในมหาวิทยาลัย
4. เพื่อเป็นแหล่งในการรวมรวมแหล่งสืบค้นข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น ซีดี ดีวีดี รูปแบบไฟล์เสียง การสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตให้กับผูัที่สนใจ
5.  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับ นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ


สำหรับตัวอย่างศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีผมจะยกตัวอย่าง โดยขอกล่าวถึงศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คือบริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ




การเข้ารับบริการ ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





วิสัยทัศน์      


              เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เพียบพร้อม สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่มีมาตรฐาน สามารถให้บริการสนองความต้องการด้านการเรียน การสอน การวิจัย และความใฝ่รู้ของประชาคมมหาวิทยาลัย และสังคม

พันธกิจ


             เป็นศูนย์กลางความรู้ (Knowledge Center) โดยบุกเบิก แสวงหา สรรสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาคมจุฬาฯ และสังคม


ปัจจัยแห่งความสำเร็จ


งานพัฒนา

   1. มีทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบที่เพียบพร้อมสมบูรณ์
   2. มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการดำเนินงานทั้งในด้านการบริหารและการบริการ
   3. มีเสถียรภาพทางการเงิน
   4. มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการให้บรรลุพันธกิจ
   5. มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน และเกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

งานประจำ


   1. มีบริการเพื่อสนองความต้องการด้านการเรียน การสอน การค้นคว้าวิจัย และความใฝ่รู้ของประชาคมจุฬาฯ และสังคม
   2. มีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านบริหาร บริการ และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
   3. มีระบบประกันคุณภาพซึ่งมีกระบวนการ และองค์ประกอบในการรักษาระดับคุณภาพของการดำเนินงานตามมาตรฐานสากล
   4. มีระบบบริหารจัดการที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้



 นโยบายสถาบัน


   1. เสริมสร้างบทบาทในการเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ของจุฬาฯ
      1.1 จัดหา รวบรวม ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนิสิต
      1.2 จัดสร้างฐานข้อมูลพื้นถิ่น
      1.3 เชื่อมประสานและชี้แหล่งอ้างอิงผลงานวิชาการ
   2. พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เผยแพร่ และให้บริการสารสนเทศ แก่ประชาคมจุฬาฯ และสังคม
      2.1 เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
      2.2 พัฒนาระบบการให้บริการสารสนเทศ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
      2.3 สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
      2.4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตสื่อการศึกษา และการเรียนการสอนทางไกล
      2.5 เสริมสร้างทักษะการเข้าถึง และสืบค้นสารสนเทศ บนเครือข่ายทั้งในและนอกจุฬาฯ
   3. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการ
      3.1 ดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
      3.2 พัฒนาระบบกายภาพ
      3.3 ดำเนินการระบบประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
      3.4 สร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการองค์กร
      3.5 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
   4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      4.1 จัดกิจกรรมด้านการแสดงนิทรรศการ ศิลปะการแสดง การแสดงดนตรี และการสัมมนาทางวิชาการของศิลปิน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
      4.2 จัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม แก่นิสิต ในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
      4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาคมจุฬาฯ ได้เกิดสุนทรีย์ในงานศิลปะผ่านระบบเครือข่าย (Virtual Exhibition)
   5. ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
      5.1 จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ ด้านการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดสร้างฐานข้อมูล การผลิตสื่อการศึกษา

นโยบายคุณภาพ

              ศูนย์วิทยทรัพยากร มีความมุ่งมั่นที่จะบุกเบิก แสวงหา สรรสร้าง บริการและเผยแพร่ความรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และวิจัย ด้วยการพัฒนาระบบบริหารและบริการ เพื่อมุ่งให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการทุกระดับ โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส และมีพัฒนาการเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล



เราจะเห็นได้ว่าหน้าที่ของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ มีความสำคัญมากต่อการศึกษา มีบริการสำเนาสื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับ นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่สนใจสืบค้นหาข้อมูล รวมถึงเป็นแหล่งบริการการผลิตสื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้นการตั้งศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาตามสถานที่ศึกษาต่างๆจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้มากครับ



ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์ 0-2218-2929 (งานบริการห้องสมุด), 0-2218-2905 (งานธุรการ), โทรสาร 0-2215-3617, 0-2218-2907
http://www.car.chula.ac.th