ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
สวัสดีครับ บทความนี้จะพูดถึงเรืองของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาว่าแท้จริงแล้วมีความหมายอย่างไร สำหรับศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสำเนาสื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและรายการวิทยุ เพื่อการศึกษา ที่ศูนย์ฯผลิต เป็น วีซีดี ออดิโอซีดี และ MP3 พร้อมคู่มือประกอบการรับชมและฟัง สำหรับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน และศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ครับ
สำหรับความสำคัญของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเราจะแยกเป็นหัวข้อๆได้ดังนี้ครับ
1 . เพื่อเป็นที่ให้บริการสำเนาสื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้ที่มีเรียนในระดับอุดมศึกษา
2. เพื่อเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับ นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่สนใจสืบค้นหาข้อมูล
3. เพื่อเป็นแหล่งบริการการผลิตสื่อการศึกษา การบริการสืบค้นทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจภายในมหาวิทยาลัย
4. เพื่อเป็นแหล่งในการรวมรวมแหล่งสืบค้นข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น ซีดี ดีวีดี รูปแบบไฟล์เสียง การสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตให้กับผูัที่สนใจ
5. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับ นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
สำหรับตัวอย่างศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีผมจะยกตัวอย่าง โดยขอกล่าวถึงศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คือบริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ
การเข้ารับบริการ ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิสัยทัศน์
เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เพียบพร้อม สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่มีมาตรฐาน สามารถให้บริการสนองความต้องการด้านการเรียน การสอน การวิจัย และความใฝ่รู้ของประชาคมมหาวิทยาลัย และสังคม
พันธกิจ
เป็นศูนย์กลางความรู้ (Knowledge Center) โดยบุกเบิก แสวงหา สรรสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาคมจุฬาฯ และสังคม
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
งานพัฒนา
1. มีทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบที่เพียบพร้อมสมบูรณ์
2. มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการดำเนินงานทั้งในด้านการบริหารและการบริการ
3. มีเสถียรภาพทางการเงิน
4. มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการให้บรรลุพันธกิจ
5. มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน และเกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
งานประจำ
1. มีบริการเพื่อสนองความต้องการด้านการเรียน การสอน การค้นคว้าวิจัย และความใฝ่รู้ของประชาคมจุฬาฯ และสังคม
2. มีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านบริหาร บริการ และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
3. มีระบบประกันคุณภาพซึ่งมีกระบวนการ และองค์ประกอบในการรักษาระดับคุณภาพของการดำเนินงานตามมาตรฐานสากล
4. มีระบบบริหารจัดการที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้
นโยบายสถาบัน
1. เสริมสร้างบทบาทในการเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ของจุฬาฯ
1.1 จัดหา รวบรวม ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนิสิต
1.2 จัดสร้างฐานข้อมูลพื้นถิ่น
1.3 เชื่อมประสานและชี้แหล่งอ้างอิงผลงานวิชาการ
2. พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เผยแพร่ และให้บริการสารสนเทศ แก่ประชาคมจุฬาฯ และสังคม
2.1 เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
2.2 พัฒนาระบบการให้บริการสารสนเทศ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
2.3 สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตสื่อการศึกษา และการเรียนการสอนทางไกล
2.5 เสริมสร้างทักษะการเข้าถึง และสืบค้นสารสนเทศ บนเครือข่ายทั้งในและนอกจุฬาฯ
3. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการ
3.1 ดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
3.2 พัฒนาระบบกายภาพ
3.3 ดำเนินการระบบประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
3.4 สร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการองค์กร
3.5 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
4.1 จัดกิจกรรมด้านการแสดงนิทรรศการ ศิลปะการแสดง การแสดงดนตรี และการสัมมนาทางวิชาการของศิลปิน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
4.2 จัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม แก่นิสิต ในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาคมจุฬาฯ ได้เกิดสุนทรีย์ในงานศิลปะผ่านระบบเครือข่าย (Virtual Exhibition)
5. ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
5.1 จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ ด้านการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดสร้างฐานข้อมูล การผลิตสื่อการศึกษา
นโยบายคุณภาพ
ศูนย์วิทยทรัพยากร มีความมุ่งมั่นที่จะบุกเบิก แสวงหา สรรสร้าง บริการและเผยแพร่ความรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และวิจัย ด้วยการพัฒนาระบบบริหารและบริการ เพื่อมุ่งให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการทุกระดับ โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส และมีพัฒนาการเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลเราจะเห็นได้ว่าหน้าที่ของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ มีความสำคัญมากต่อการศึกษา มีบริการสำเนาสื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับ นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่สนใจสืบค้นหาข้อมูล รวมถึงเป็นแหล่งบริการการผลิตสื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้นการตั้งศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาตามสถานที่ศึกษาต่างๆจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้มากครับ
ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์ 0-2218-2929 (งานบริการห้องสมุด), 0-2218-2905 (งานธุรการ), โทรสาร 0-2215-3617, 0-2218-2907
http://www.car.chula.ac.th