สื่อและเทคโนโลยีการทางศีกษาในศตวรรษที่ 21
Video on Demand
ปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การพัฒนาสังคมและประชากรให้มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการให้การศึกษากับประชาชนในประเทศนั้นๆ จึงทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการที่จะช่วยในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้เกิดคุณภาพและประโชยน์สูงสุด โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาเป็นตัวช่วยในการพัฒนา จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้นมาในโลกนี้
ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งโดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษา ได้มีการตื่นตัวกันมากในการนำเอาระบบ Video on Demand มาใช้บริการเพื่อสนองต่อปรัชญาการศึกษาแนวใหม่ที่เน้นในผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนแทนระบบเดิมที่ให้ผู้สอนเป็นศูนย์กลางการเรียน การจะให้แนวการศึกษาใหม่นี้ได้รับความสำเร็จจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนเครื่องมือสำหรับศึกษาค้นคว้าเช่นห้องสมุด ระบบอินเตอร์เน็ต และหนึ่งในเครื่องมือที่จะละเลยไม่ได้ก็คือระบบ Video on Demand นั่นเอง
หลายๆคนอื่นจะยังไม่เข้าใจนะครับว่าระบบ Video on Demand คืออะไร Video on Demand คือระบบวิดิโอดิจิตอลที่ผู้ใช้สามารถเปิดวีดิทัศน์ที่มีอยู่ในรายการได้ทันที โดยไม่คำนึงว่ากำลังให้บริการรายการใดให้กับใครอยู่ในขณะนั้น พร้อมทั้งความสามารถในการควบคุมการเล่นได้ด้วยตนเอง โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ส่วนประกอบของระบบ Video on Demand ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก 3 ส่วนดังต่อไปนี้
1. เครื่องแม่ข่ายวีดิทัศน์ (Video Server)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ขนาดใหญ่พร้อมโปรแกรมบริหารสายธาร (Streaming Managemet) เพื่อรับประกันการส่งภาพอย่างต่อเนื่องให้กับเครื่องลูกข่าย (Client) หากปราศจากโปรแกรมบริหารสายธาร คอมพิวเตอร์แม่ข่ายนี้ก็เป็นเพียงเครื่องแม่ข่ายเก็บข้อมูล (Database Server) ธรรมดา
2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
เป็นเส้นทางที่เครื่องแม่ข่ายจะส่งสายธารวีดิทัศน์ให้กับผู้ร้องขอ ประกอบด้วยแผ่นวงจรเครือข่าย (Network Interface Card) ติดตั้งไว้ในเครื่องแม่ข่ายและลูกข่าย สายเชื่อมต่อสัญญาณ (Network Cable) และอุปกรณ์สลับเส้นทาง (Network Switch) ระบบเครือข่ายอาจจะเป็นระบบอีเทอร์เนต (Ethernet) หรือเอทีเอ็ม (ATM) โดยใช้สายคู่ตีเกลียว (UTP) หรือสายใยแก้ว (Optical Fiber) ตามความเหมาะสม
3. เครื่องลูกข่าย (Client)
คือเครื่องรับสัญญาณวีดิทัศน์จากเครื่องแม่ข่าย อาจจะอยู่ในรูปของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือกล่องสำเร็จ (Set Top Box) ภายในจะมีตัวถอดรหัส (Decoder) สัญญาณดิจิตอลวีดิทัศน์ที่ส่งมาจากเครื่องแม่ข่ายให้อยู่ในรูปที่มองเห็นได้บนคอมพิวเตอร์หรือจอภาพโทรทัศน์ เครื่องลูกข่ายจะต้องมีอุปกรณ์สั่งการเพื่อให้เลือกรายการได้เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพสัมผัส หรือเครื่องควบคุมระยะไกล (Remote Control) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด
ข้อดีของระบบ Video on Demand
1. ให้บริการได้พร้อมกันจำนวนมาก ระบบ Video on Demand จะสามารถให้บริการลูกข่ายที่ร้องขอรายการเดียวกันได้พร้อมกันหรือให้บริการรายการที่ต่างกันทั้งหมดได้อีกด้วย ความสามารถนี้เกิดจากการจัดการขององค์ประกอบของระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ไม่เสื่อมคุณภาพจากการใช้งาน Video on Demand เป็นดิจิตอลวีดิทัศน์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสของคอมพิวเตอร์ซึ่งมีวิธีการตรวจเช็คและแก้ไขข้อผิดพลาดอย่างยอดเยี่ยม ข้อมูลวีดิทัศน์จึงถูกเก็บรักษาและนำไปใช้โดยไม่มีการเสื่อมหรือสูญหาย
3. ทำงานได้รวดเร็วการทำงานกับดิจิตอลวีดิทัศน์ในฮาร์ดดิสซึ่งมีความเร็วสูงและเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีแบบสุ่ม (Random Access) จึงสามารถเปิด ควบคุม และค้นหา ได้อย่างรวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการกรอม้วนเทปไปมา
4. จัดทำบันทึกและรายงานได้สะดวก ด้วยความสามารถของคอมพิวเตอร์ จึงไม่เป็นการยากที่จะบันทึกการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้เรียกใช้ รายการ ระยะเวลา ความถี่ พร้อมทั้งการจัดพิมพ์รายงานตามรูปแบบที่ต้องการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
5. มีความปลอดภัยสูง การโยกย้าย เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลใด ๆบนเครื่องแม่ข่ายจะทำไม่ได้หากไม่มีหน้าที่ หรืออำนาจในการจัดการ หมดปัญหาอุบัติเหตุจากการตกหล่น สูญหาย ชำรุด หรือถูกลบทิ้งจากการใช้งาน
6. ไม่ต้องใช้เครื่องเปิดโดยฉพาะใช้เพียงคอมพิวเตอร์ธรรมดาที่มีอยู่ไปในหน่วยงานมาเชื่อมต่อเป็นเครื่องลูกข่ายได้ทันที ประสิทธิภาพของการถอดรหัส ความราบเรียบของภาพวีดิทัศน์ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นั้น ๆ
7. เสริมบริการอื่น ๆได้ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องลูกข่าย ทำให้เพิ่มบริการเสริมต่าง ๆได้โดยสะดวกเช่น บริการการท่องอินเตอร์เน็ต การค้นข้อมูลในห้องสมุด การลงทะเบียน การดูผลการสอบ และ การคิดค่าบริการเป็นต้น
- งานเผยแพร่คำบรรยาย เป็นการบันทึกการบรรยายของผู้สอนในการบรรยายตามปกติไว้ในเครื่องแม่ข่ายวีดิทัศน์ เพื่อบริการให้กับผู้พลาดการบรรยายด้วยสาเหตุใดก็ตาม ผู้ต้องการทบทวนเนื้อหาหลักสูตร หรือผู้ที่ตามคำสอนไม่ทันได้มีโอกาสไปขอรับบริการจากศูนย์บริการข้อมูลหรือห้องสมุดได้
- บริการวีดิทัศน์การศึกษา เป็นวีดิทัศน์ที่ผลิตขึ้นโดยเฉพาะ วีดิทัศน์ประเภทนี้จะมีเนื้อหาที่รัดกุมกว่า ภาพประกอบ คำบรรยาย วอย่าง จะสมบูรณ์มากกว่า จึงเหมาะสำหรับการนำมาให้บริการ Video on Demand เพื่อการศึกษาค้นคว้าได้อีกชนิดหนึ่ง
- บริการข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญ การศึกษาไม่จำกัดอยู่เฉพาะในตำรา ข่าวสารและเหตุการณ์ที่สำคัญถือเป็นเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในหลายหลักสูตร การบรรจุข่าวสารที่สำคัญไว้ในเครื่องแม่ข่ายวีดิทัศน์ ก็สามารถสร้างศูนย์บริการข่าววีดิทัศน์บนเครือข่ายได้
- สารคดีประกอบบทเรียน สารคดีที่มีประโยชน์คือแหล่งความรู้อันมหาศาล ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติ ภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เกิดวิสัยทัศน์ ความตื่นตัว และพัฒนาการ จึงสมควรมีไว้บริการในระบบ Video on Demand เช่นกัน
- การฝึกภาคปฏิบัติ ห้องปฏิบัติการทางภาษา งานหัตกรรมบางประเภท งานที่ต้องใช้ความละเอียด ตัวอย่างที่เสี่ยงอันตราย เหมาะอย่างยิ่งที่จะเผยแพร่ในรูปของวีดิทัศน์ ผู้ปฏิบัติสามารถย้อนกลับไปกลับมาเท่าที่ต้องการโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดความเสียหายต่อระบบถ้าหากเป็นการเปิดจากระบบ Video on Demand
ตัวอย่าง Video on Demand เรื่องมะเร็งสำไส้ใหญ่ โดย Dr.Howard Schecter
ข้อเสียของระบบ Video on Demand
1. หากผู้เรียนมีข้อสงสัย ระบบไม่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ทันที อาจต้องรอให้ผู้อื่นมาตอบภายหลัง
2. สำหรับผู้ที่มีช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่มีความเร็วไม่คงที่ จะพบปัญหาการ buffering บ่อยครั้ง
แต่เนื่องด้วย Video on Demand เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลาและความเร็วการเชื่อมต่อก็จะส่งผลคุณภาพ ความละเอียด ความคมชัดของวีดีโอที่ได้จะได้รับชม การรับชมจึงมีข้อจำกัดในหลายๆด้านยกตัวอย่างดังนี้
ความเร็วในการเชื่อมต่อ ซึ่งหากมีการรับชมผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ก็จำเป็นที่จะต้องใช้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้น เพื่อรองรับกับคุณภาพละความคมชัดของสื่อที่จะรับชม เนื่องจากหากการเชื่อมต่อมีปัญหาก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้และรับชมได้โดยตรง
การบริหารจัดการของระบบแม่ข่าย
ซึ่งเมื่อระบบมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ความแตต่างแต่ละระบบก็จะมีความสามารถในการรองรับผู้ใช้งานต่างกันไป บางระบบสามารถจัดส่งวิดีโอให้กับผู้ใช้อย่างไม่จำกัดจำนวน แต่จะทำงานได้อย่างราบเรียบเมื่อมีผู้ใช้ไม่มาก เมื่อผู้ใช้มากขึ้นก็จะเกิดการชะงักหรือการกระตุกของภาพ
การนำไปใช้ในการช่วยในการศึกษานั่น จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากการเรียนการสอนมากที่สุด
แหล่งที่มา
http://senarak.tripod.com/video01.htm
http://portal.in.th/inno-cholticha/pages/1930/
http://en.wikipedia.org/wiki/Video_on_demand