วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

TECHNO SHOWCASE ก้าวล้ำนำการศึกษา


TECHNO SHOWCASE ก้าวล้ำนำการศึกษา

เคยสงสัยกันไหมว่า สังคมออนไลน์ในปัจจุบันมันกว้างไกลมากแค่ไหนแล้ว ทุกวันนี้เราทุกคนต่างต้องเคยศึกษา ค้นหาความรู้ ค้นหาเพื่อน พูดคุย แชร์สิ่งต่างๆที่เราสนใจให้กับผู้อื่นได้รับรู้ แต่รู้บ้างไหมว่า สังคมออนไลน์ต่างๆเหล่านี้ มีความสำคัญต่อการศึกษามากเพียงใด


ส่วนของกลุ่มที่ผมรับผิดชอบคือ กลุ่ม Around The World หรือโซเชียลมีเดียนั่นเอง หนึ่งในแปดบูธในงาน TECHNO SHOWCASE ก้าวล้ำนำการศึกษา เป็นกลุ่มที่เคยถ่ายทอดความรู้ๆต่างๆ โดยนำโซเชียลมีเดียที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมมาเป็นตัวอย่างแหละบอกถึงวิธีการว่าสามารถช่วยในการศึกษาของเราได้อย่างไร



ในบูธ Around The World มีกิจกรรมโดยให้ผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาความรู้จากโปสเตอร์ที่ติดไว้บริเวณบอร์ด และและตอบคำถาม โดยคำถามจะอยู่ในบอร์ดความรู้ที่ได้ศึกษาไปแล้วนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมให้เพื่อนๆได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียที่ตนเองชื่นชอบ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากๆ


จากการจัดนิทรรศการครั้งนี้ สามารถแบ่งปันความรู้มากมายให้กับผู้ที่สนใจ และมีผลตอบรับจากผู้เข้าชมที่ดีมาก เราได้รับทราบถึงความคิดของผู้เข้าชมบูธที่มีต่อโซเชียลมีเดียแต่ละประเภท เราได้แบ่งบันประโยชน์ของโซเชียลมีเดียที่จะทำไปช่วยในการศึกษา เราได้ประชาสัมพันธ์ภาควิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ซึ่งทั้งหมดนี่ถือว่าเป็นจุดประสงค์หลักของการจัดนิทรรศการ จนเป็นแรงบรรดาลใจให้คณะผู้จัดงานมีกำลังใจในการจัดงานในปีต่อๆไป   เจอกันใหม่ในปีหน้าครับ


TECHNO SHOWCASE ก้าวล้ำนำการศึกษา จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15-16 สิงหาคม 2556 ชั้น 1 อาคารนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก รากเหง้าแท้ของคนไทย


พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร


หลังจากที่ได้ไปรับชมนิทรรศการประเภทออนไลน์ไปในเรื่องที่แล้ว ครั้งนี้ผมจะพามาศึกษาดูนิทรรศการประเภทถาวรครับ นั่นคือ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร นั่นเอง โดยเจ้าของบ้านได้มอบให้กับกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นที่ศึกษาให้กับเยาวชนรุ่นหลังๆได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบางกอกในสมัยก่อน

โดยสมัยอยุธยา บ้านหลังนี้ถือว่าตั้งอยู่ในทำเลธุรกิจ จึงมีการไปมาหาสู่ของชาวต่างชาติมากมาย เช่น ชาวจีน และชาวอินเดีย ทำให้การออกแบบ การตกแต่งของบ้านทั้ง 3 หลังมีการผสมผสานของวัฒนธรรมต่างๆชาติได้อย่างลงตัว


ภายในบ้านหลังที่ 1 ได้รับพระราชทานเป็นบ้านที่คงสถาปัตยกรรมดีเด่นเอาไว้ มีการจัดสร้างของบ้านในรูปแบบของปั้นหยา เป็นบ้านโบราญหลังเดียวที่อยู่ภายในบริเวณนี้ ภายในบ้านจะมีห้องรับแขก ซึ่งจะไม่ค่อยได้ใช้งานมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะรับแขกและคุยกันอยู่บริเวณหน้าบ้าน หรือไม่ก็ไปรับประทานอาหารที่ห้องรับประทานอาหาร ภายในห้องรับประทานอาหาร จะมีการตกแต่งของใช้ต่างๆในรูปแบบผสมผสาน เนื่องจากเข้าของบ้านเป็นคนอินเดีย และไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ และมีของใช้ของชาวจีนอยู่ภายในห้องอีกด้วย โดยจะมีเครื่องใช้ที่นำเข้าจากต่างประเทศมาเป็นส่วนมาก รวมถึงโต๊ะรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นขาโต๊ะจะเป็นขาสิงห์ ซึ่งจะหาได้ยากมาก มีตู้เย็น โดยในสมัยก่อนนั้น บ้านที่มีตู้เย็นไว้ใช้งาน ถือว่าเป็นบ้านที่มีฐานะร่ำรวย จึงจะสามารถนำตู้เย็นมาใช้งานได้



ภายในบ้านหลังที่ 2 เดิมทีจะสร้างให้เป็นคลีนิครักษาผู้ป่วย แต่เข้าของบ้านได้เสียชีวิตลงไปก่อน จึงปรับมาเป็นบ้านที่ใช้ในการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้จากชาวตะวันตก โดยชั้นล่างจะเป็นห้องโล่งๆ และชั้นบนจะเป็นห้องพักผ่อนและห้องนอนของเข้าของบ้าน




ภายในบ้านหลังที่ 3 จะเป็นอาคารที่รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ในสมัยต่างๆ โดยจะแบ่งเป็นโซนย่อยๆ ได้แต่ โซนอุปกรณ์งานช่าง โซนเลี้ยงสัตว์ โซนห้องทำงาน และโซนห้องทำอาหาร ซึ่งแต่ละโซนจะมีสิ่งของที่มีคุณค่า และมีอายุการใช้งานมานานกว่า 100 ปี เก้บไว้แสดงให้รับชมกัน

จากการเข้าไปชมนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ทำให้ได้รับรู้ถึงวิถีชีวิต และรูปแบบของสิ่งของเครื่องใช้ในสมัยอยุธยา เป็นการรวมรวบความรู้ดั้งเดิมของชาวบางกอกให้คนรุ่นหลังไว้ศึกษาความเป็นมาของชาวบางกอกในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก เปิดให้เข้าชมได้ฟรี 10.00 - 16.00 น. วันพุธถึงวันอาทิตย์ (หยุดจันทร์และอังคาร)

E-exhibition รังสี เรื่องใกล้ตัว

E-exhibition รังสี เรื่องใกล้ตัว


ปัจจุบันเราเห็นได้ว่าความรู้รอบๆตัวเรามีอยู่มากมาย นอกจากการจัดนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ความรู้แล้ว ยังมีวิธีอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น คือการเผยแพร่ความรู้บนเว็บไซต์ หรือที่เรียกกันว่า นิทรรศการออนไลน์ เนื่องจากสามารถเข้ารับชมได้สะดวก สามารถรับชมได้ตลอดเวลา และเป็นการเผยแพร่ความรู้อย่างไร้ขอบเขต เพราะอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าได้จากทุกที่ ทุกมุมโลก 


ในการจัดทำ นิทรรศการออกไลน์ ถือว่าการเผยแพร่ความรู้ ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถพิเศษของการจัดนิทรรศการออนไลน์คือ สามารถใส่เทคนิคพิเศษต่างๆ เข้าไปในนิทรรศการได้ เช่น เอฟเฟกภาพต่างๆ การแทรดวีดิโอ การโตตอบกับผู้ใช้งานได้โดยตรง ผู้ใช้งานสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตลอดเวลา สามารถรองรับผู้ชมได้ในจำนวนมาก แต่ข้อจำกับของการทำนิทรรศการออนไลน์ที่สำคัญเลยคือ ผู้ชมไม่สามารถรับชม สัมผัส สิ่งของหรือความรู้ที่จัดแสดงอยู่นั้นๆได้จริง ผู้ชมไม่ได้รับประสบการณ์ในการชมที่สมจริง


ตัวอย่างของนิทรรศการออนไลน์ที่ยกตัวอย่างมาในวันนี้คือ นิทรรศการจัดแสดงความรู้เกี่ยวกับ รังสี จัดทำโดย อพวช หรือ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ รังสี ที่อยู่รอบตัวเรา โทษของรังสี ประโยชน์และอันตรายของรังสี เป็นต้น

จากการเข้ารับชม แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ อ่านอย่าง มีเนื้อหากระชับ ได้ใจความ ทำให้ผู้รับชมสามารถเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการสือหรือประชมสัมพันธ์ได้ มีการเน้นสีสัน เพื่อให้เนื้อหาเกิดความน่าสนใจมากขึ้น 
การจัดนิทรรศการออนไลน์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ความรู้เรื่องต่างๆ เหมาะสำหรับ การศึกษา